Our links

วันอาทิตย์ที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒

เมืองพะเยา

เมืองพะเยา

เมืองพะเยาเป็นเมืองเก่าที่สำคัญอีกเมืองหนึ่งก่อน พ.. ๑๘๓๙ ตามเอกสารตำนานต่างๆเรียกชื่อว่า ภูกามยาว เรื่องราวของเมืองนี้ก็เช่นเดียวกับหริภุญไชย สามารถตรวจสอบได้จากข้อมูลต่างๆ ได้แก่ เอกสารประเภทตำนาน เป็นต้นว่า ตำนานพะเยา ฉบับวัดศรีโคมคำ ตำนานเมืองพะเยา ฉบับหอสมุดแห่งชาติ ประชุมพงศาวดารภาค ๖๑ ข้อมูลจากศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่สอง ปรากฏชื่อเมืองพะเยาด้วยดังข้อความว่า

“ … เมืองใต้ออกพ่อขุนนำถุม เบื้องตะวันออกเถิง เบื้องหัวนอนเถิงลุนคา               ขุนคา ขุนด่าน เบื้องในหรดีถึงฉอด เวียงเหล็ก เบื้องตะวันตกเถิง ลำพูนบู .. เบื้องพายัพถึงเชียงแสนและพะเยาลาว

ข้อความในจารึกแสดงว่ามีเมืองพะเยาก่อน พ.. ๑๘๓๙ ตามตำนานเมืองพะเยา เขียนว่าเมืองนี้สร้างขึ้นโดยพ่อขุนจอมธรรม ซึ่งพระองค์ได้เป็นราชบุตรของพ่อขุนลาวเงินหรือขุนเงินแห่งเมืองเงินยางเชียงแสน พ่อขุนจอมธรรมได้อพยพประชาชนมาสร้างเมืองพะเยา และมีเชื้อสายของพระองค์ปกครองสืบมา กษัตริย์พระองค์สำคัญอีกพระองค์หนึ่งของพะเยาเป็นที่รู้จักของปัจจุบันดี คือ พระยา   งำเมือง ซึ่งตามตำนานเล่าว่าพระองค์เป็นพระสหายของพระยามังราย ได้ทรงมาร่วมสร้างเมืองเชียงใหม่ด้วย

นอกจากพระยางำเมืองแล้ว ตามตำนานต่างๆ ได้เล่าว่า พระยาเจือง หรือขุนเจือง ผู้นำที่พะเยามีความสามารถมาก พระองค์มีพระชนมายุระหว่าง พ.. ๑๖๒๕ - ๑๗๐๕ โดยพระยาเจืองเป็นกษัตริย์พะเยา ในสมัยของพระองค์ ดินแดนล้านนาไทยได้ขยายออกไปอย่างกว้างขวางถึงสิบสองพันนา เวียตนาม (แกว) ล้านช้าง สมัยของพระองค์เป็นสมัยสำคัญอีกสมัยหนึ่งของล้านนาไทย อนึ่งจากการศึกษาค้นคว้าทางด้านโบราณคดีที่เมืองพะเยาของ ร..ศรีศักดิ์ ได้พบเครื่องมือหินและโลหะ คือ หัวขวานสำริดและผาลไถ ทำด้วยเหล็กกำหนดอายุไม่ได้ที่เมืองพะเยา สันนิษฐานบริเวณที่ราบลุ่มเชียงรายฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขง ได้พัฒนาเป็นสังคมบ้านเมืองก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙ นอกจากนี้เมืองพะเยายังมีความเจริญทางศิลปกรรม ได้พบศิลปวัตถุจำนวนมากที่พะเยา เรียกว่า ศิลปสกุลช่างพะเยา และได้พบศิลาจารึกเป็นจำนวนมากอีกด้วย

เมืองพะเยามีกษัตริย์ปกครองสืบมาต่อจากพระยาจอมธรรมหลายพระองค์จนถึงสมัย    พระยาคำลือ ซึ่งขณะนั้นเชียงใหม่มีกษัตริย์ชื่อพระยาคำฟู ปกครองเชียงใหม่ระหว่าง พ.. ๑๘๖๖ - ๑๘๗๙ กษัตริย์ลำดับที่ ๕ พระยาคำฟูได้ร่วมมือกับพระยาเมืองน่านยกกองทัพไปตีพะเยาและยึดครองพะเยาได้ในปี พ.. ๒๐๓๘ ซึ่งปรากฏข้อความในศิลาจารึกวัดลี แต่ในตำนานพะเยาเขียนว่า พระยา   คำฟูยกทัพไป พ.. ๑๘๘๑[1] อย่างไรก็ตาม สงครามครั้งนี้ ทำให้พะเยาเสียเอกราชตกเป็นเมืองในอาณาเขตของแคว้นล้านนาตั้งแต่นั้นมา


ตำนานเมืองพะเยา, ฉบับหอสมุดแห่งชาติ (ยังไม่ได้พิมพ์เผยแพร่)

พระราชวิสุทธิ์โสภณ, ประวัติเมืองพะเยาและตำนานเมืองเชียงแสน, (พระนคร : รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์ ๒๕๒๕) หน้า ๒๘.

ประชุมพงศาวดารภาค ๖๑, พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน, พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพลตรีเจ้าราชบุตร (พระนคร : ชวนพิมพ์ ๒๕๑๖)

ประเสริฐ ณ นคร อ่านและตีความจารึกใหม่อ้างในศรีศักดิ์ วัลลิโภดม, ข้อมูลใหม่ ข้อคิดใหม่เกี่ยวกับเชียงแสนและพะเยา วารสารเมืองโบราณ ๗ (๒ เมษายน กรกฎาคม ๒๕๒๔)

โปรดดูรายละเอียดใน ท้าวฮุ่งหรือเจือง มหาวิทยาลัยศิลปากร ๒๕๒๔ และดู ตามพระยาเจืองอรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และศรีธน คำแปง ปริวรรต พิมพ์เผยแพร่โดย คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศูนย์วัฒนธรรมวิทยาลัยครูเชียงใหม่ พ.. ๒๕๒๕ (สนับสนุนการวิจัยโดยมูลนิธิ Toyota ประเทศญี่ปุ่น)

อานันท์ กาญจนพันธุ์ ตำนานพระยาเจือง” :การศึกษาทางประวัติศาสตร์ วารสารมนุษยศาสตร์ ๑๑ (๑ กรกฎาคม ธันวาคม ๒๕๒๕) หน้า ๑๑๙ - ๑๓๓)

   จิตร ภูมิศักดิ์, ความเป็นมาไทยสยาม.

.. ปากน้ำ ศิลปสมัยเชียงแสนพะเยาวารสารเมืองโบราณ ๗ (๒ เมษายน กรกฎาคม ๒๕๒๔)            หน้า ๔๙ - ๖๐.

[1] เรื่องเดียวกัน, หน้า ๕๗ จารึกวัดลี จารึกว่าพะเยาเสียเอกราช จ.. ๘๕๗ แต่ตำนานเมืองพะเยา เขียนว่าเสีย      เอกราชนี้ จ.. ๗๐๐

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Our links