Our links

วันอังคารที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒

มณฑลพายัพ

มณฑลพายัพในช่วง พ.. ๒๔๕๘ - ๒๔๖๘ จะจัดเป็นระเบียบแบบแผนเช่นเดียวกับมณฑลภายในทุกประการ และช่วงนี้มีการจัดตั้งมณฑลมหาราษฎร์ประกอบด้วย ลำปาง แพร่ น่าน แล้วรวมกับมณฑลพายัพเป็นมณฑลภาคพายัพ อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในเชียงใหม่จะเกิดหลังจากทางรถไฟสายเหนือมาถึงปลายทางที่เชียงใหม่ในปี พ.. ๒๔๖๔ ซึ่งทำให้เศรษฐกิจเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว มีการขยายเนื้อที่เพาะปลูกข้าวและพืชเศรษฐกิจอื่นๆ เพื่อส่งเป็นสินค้าออก[1] และสินค้าจากส่วนกลางก็เข้ามาเชียงใหม่มากขึ้น รวมทั้งวิทยาการความเจริญในทุกๆ ด้านด้วย

การปกครองเมืองเชียงใหม่ช่วง พ.. ๒๔๖๘ - ๒๔๗๖ เป็นการปรับปรุงช่วงสุดท้ายก่อนยกเลิกระบบเทศาภิบาล ได้เริ่มเมื่อรัชกาลที่ ๗ ขึ้นครองราชย์ ทรงยกเลิกระเบียบแบบแผนต่างๆ ที่จัดขึ้นในช่วง พ.. ๒๔๕๘ - ๒๔๖๘ ทรงยุบเลิกตำแหน่งและหน่วยงานที่ไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เช่น ยุบมณฑลมหาราษฎร์เข้ากับมณฑลพายัพ ยุบเลิกตำแหน่งเสนาทั้ง ๖ ซึ่งว่างมานานแล้ว และทรงดำเนินนโยบายยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมืองโดยเด็ดขาด ซึ่งกำหนดว่านับตั้งแต่ พ.. ๒๔๖๙ เป็นต้นไป[2] หากตำแหน่งเจ้าเมืองใดว่างลงจะไม่โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นอีก ส่วนเจ้าเมืองที่มีชีวิตอยู่ก็ได้เงินเดือนจนถึงแก่พิราลัย ซึ่งเจ้าแก้วนวรัฐเจ้าเมืองเชียงใหม่องค์สุดท้ายถึงแก่พิราลัยใน พ.. ๒๔๘๒ จึงเป็นการสิ้นสุดตำแหน่งเจ้าเมืองเชียงใหม่ และหลังจากคณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.. ๒๔๗๕ ได้ยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาลลงใน พ.. ๒๔๗๖ มณฑลพายัพจึงสลายตัว ส่วนเมืองเชียงใหม่ซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนาไทยในอดีตก็มีฐานะเป็นเพียงจังหวัดเช่นเดียวกับจังหวัดอื่นๆ สืบมาจนปัจจุบัน

บทสรุป

เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนาไทย ซึ่งมีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ โดยเป็นอิสระในสมัยที่ราชวงศ์มังรายปกครอง ครั้นถึงสมัยพระเจ้าบุเรงนองพม่ามีความเข้มแข็งมากสามารถตีเชียงใหม่สำเร็จใน พ.. ๒๑๐๑ และในเวลาต่อมาก็โจมตีอยุธยาสำเร็จอีกใน พ.. ๒๑๑๒ อยุธยาสามารถเป็นอิสระจากพม่าหลังจากถูกครอบครอง ๑๕ ปี ส่วนล้านนาไทยพยายามดิ้นรนเป็นอิสระอยู่หลายครั้งแต่ก็ไม่สามารถพ้นจากอิทธิพลของพม่าได้ ล้านนาไทยมีสภาพที่อ่อนแอถูกพม่าครอบครองเกือบตลอดเวลา มีช่วงเวลาสั้นๆ ที่ฝ่ายอยุธยาเข้าครอบครอง[3]

อย่างไรก็ตามความคิดที่จะ ฟื้นม่าน” (ต่อต้านพม่า) ของชาวเชียงใหม่เกิดขึ้นเสมอ แต่ไม่สำเร็จเชียงใหม่ไม่สามารถขับไล่พม่าโดยลำพังได้ ในที่สุดใน พ.. ๒๓๑๗ พระยาจ่าบ้านและพระยา กาวิละเข้าสวามิภักดิ์ต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แล้วร่วมกับกองทัพไทยขับไล่พม่าออกไปนับ ตั้งแต่นั้นมาเชียงใหม่จึงมีฐานะเป็นเมืองประเทศราชของไทย

ในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น พม่ายังคงรุกรานเชียงใหม่และหัวเมืองประเทศราชล้านนาไทยเพื่อหวังจะกลับมาปกครองอีก รัฐบาลสมัยนั้นต้องช่วยเหลือให้ล้านนาไทยเข้มแข็งสามารถต่อต้านกับพม่าได้ สมัยรัชกาลที่ ๑ มีนโยบายฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ให้เป็นศูนย์กลางของล้านนาไทยที่เข้มแข็ง โดยแต่งตั้งพระยากาวิละเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ทำหน้าที่ ฟื้นเมืองเชียงใหม่และขับไล่ อิทธิพลพม่าให้หมดไป ซึ่งประสบความสำเร็จในปลายรัชกาลที่ ๑ เมืองเชียงใหม่ฟื้นตัวอย่างมั่นคงและสามารถขับไล่พม่าออกไปจากที่มั่นที่เมืองเชียงแสนใน พ.. ๒๓๔๗

การปกครองเมืองเชียงใหม่ในฐานะเมืองประเทศราช รัฐบาลกลางไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวใน กิจการภายในทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และขนบธรรมเนียมประเพณี เจ้าเมืองเชียงใหม่จึงมีอิสระในการบริหารบ้านเมืองของตนเป็นอันมาก แต่มิได้หมายความว่ารัฐบาลกลางจะไม่ควบคุมเชียงใหม่เสียทีเดียว เพราะรัฐบาลกลางใช้วิธีการที่แสดงตนว่ามีฐานะที่เหนือกว่าเชียงใหม่ เช่น การแต่งตั้งตำแหน่งเจ้าขัน ๕ ใบ ซึ่งเป็นตำแหน่งทางการเมืองในระดับสูง บุคคลที่ได้รับตำแหน่งต้องยอมรับในอำนาจของพระมหากษัตริย์ โดยการเข้าเฝ้าเพื่อรับตราตั้งและเครื่องยศ และวิธีการให้กระทำพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจาซึ่งมีการสาบานว่าจะจงรักภักดี นอกจากนั้นยังให้เมืองเชียงใหม่ปฏิบัติตามพันธะของเมืองประเทศราชในรูปของการส่งต้นไม้เงินทอง เครื่องราชบรรณาการ ส่วยและการเกณฑ์ของ และการเกณฑ์ช่วยราชการสงคราม เป็นต้น




[1] หจช. . ๖ ก./๒๗ รายงานตรวจราชการกรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ลงวันที่ ๒๗ มกราคม พ.. ๒๔๕๘

[2] หจช. . ๗ รล. /๖ รายงานประชุมสภา ครั้งที่ ๗/๒๔๖๙ ลงวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.. ๒๔๖๙

[3] ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (.. ๒๑๓๓ - ๒๑๔๘) และสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (.. ๒๑๙๙ - ๒๒๓๑) อยุธยาครอบครองเชียงใหม่อยู่ระยะหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Our links