Our links

วันเสาร์ที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒

การปฏิรูปการปกครองในเมืองเชียงใหม่

การปฏิรูปการปกครองในเมืองเชียงใหม่

หลังจากที่รัฐบาลอังกฤษกับรัฐบาลไทยทำสนธิสัญญาเชียงใหม่ ฉบับที่ ๒ พ.. ๒๔๒๖ ซึ่งสัญญาฉบับนี้อังกฤษมุ่งหมายให้ไทยแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เชียงใหม่อย่างแท้จริง โดยอังกฤษต้องการให้ไทยส่งข้าหลวงที่มีอำนาจเต็มขึ้นไปดำเนินการ เพราะขณะที่กำลังเจรจาทำสัญญาฉบับนี้ บรรดา      หัวเมืองขึ้นพม่าต่างเป็นอิสระทำการสะสมเสบียงอาหารโดยยกกำลังเข้าโจมตีหัวเมืองชายแดนลานนา ไทย[1] และความวุ่นวายที่เกิดขึ้นนั้นเกินกำลังที่เมืองเชียงใหม่จะจัดการให้เรียบร้อยได้ ประกอบกับสถานการณ์ภายในเชียงใหม่ขณะนั้นกำลังยุ่งยาก เพราะเจ้าเทพไกรษรชายาของเจ้าอินทรวิชยานนท์ผู้มีความสามารถในการปกครองถึงแก่พิราลัย ในปี พ.. ๒๔๒๖ เจ้าอินทรวิชยานนท์ก็ไม่มีความเข้มแข็งเพียงพอ เจ้านายชั้นสูงในเชียงใหม่จึงแย่งชิงอำนาจกัน นับเป็นโอกาสดีของรัฐบาลกลางที่จะดำเนินการปฏิรูปการปกครองมณฑลพายัพโดยมีศูนย์กลางการดำเนินงานที่เชียงใหม่[2]

การปฏิรูปการปกครองในเมืองเชียงใหม่เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการปกครองมณฑลพายัพ ซึ่งเป็นกระบวนการรวมหัวเมืองประเทศราชลานนาไทยเข้ากับส่วนกลาง รัฐบาลกลางวาง     เป้าหมายของการปฏิรูปการปกครองเพื่อสร้างเอกภาพแห่งชาติ ซึ่งมีองค์พระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมอำนาจเพียงแห่งเดียว ในการดำเนินการจะต้องกระทำสิ่งสำคัญ ๒ ประการ คือ ประการแรก ยกเลิกฐานะหัวเมืองประเทศราชที่เป็นมาแต่เดิม โดยจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ส่งข้าหลวงมา  ปกครอง ขณะเดียวกันก็พยายามยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมืองเสีย โดยรัฐบาลกลางริดรอนอำนาจของ    เจ้าเมืองอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งในที่สุดตำแหน่งเจ้าเมืองก็สลายตัวไป ประการที่สอง การผสม     กลมกลืนชาวพื้นเมืองให้มีความรู้สึกเป็นพลเมืองไทยเช่นเดียวกับพลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศ กล่าวคือให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชนในชาติ รัฐบาลกลางใช้วิธีจัดการปฏิรูปการศึกษาใน    ลานนาโดยจัดระบบโรงเรียนหนังสือไทยซึ่งเป็นระบบการศึกษาแบบใหม่เข้าแทนที่ การเรียนในวัดและกำหนดให้เรียนภาษาไทยกลางแทนภาษาไทยยวน[3]

การปฏิรูปการปกครองในเมืองเชียงใหม่มีลักษณะการดำเนินงานที่ต่อเนื่องและยาวนาน ซึ่งสามารถแบ่งเป็น ๒ สมัย

- สมัยก่อนจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล (.. ๒๔๒๗ - ๒๔๔๒)

- สมัยจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล (.. ๒๔๔๒ - ๒๔๗๖)

เชียงใหม่สมัยก่อนจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล (.. ๒๔๒๗ - ๒๔๔๒)

เชียงใหม่สมัยปฏิรูปการปกครองหัวเมืองลาวเฉียง (.. ๒๔๒๗ - ๒๔๓๕)

การปฏิรูปหัวเมืองลาวเฉียงเป็นการเข้าควบคุมเมืองเชียงใหม่อย่างแท้จริงเป็นครั้งแรก ซึ่งรัชกาลที่ ๕ มีพระราชดำริว่าในการวางรากฐานการปฏิรูปต้องส่งพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิต-  ปรีชากรไปปูทางเพราะนอกจากเป็นเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงแล้ว ยังเป็นผู้ที่มีความสามารถรอบรู้และมีความตั้งพระทัยในการดำเนินงาน ทำให้เจ้าเมืองเชียงใหม่และเจ้านายบุตรหลานยำเกรงและยอมรับการ  เปลี่ยนแปลง[4]

๑๑

 
การดำเนินงานกรมหมื่นพิชิตปรีชากรทรงปรับปรุงด้านการปกครองให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น โดยยังคงให้มีตำแหน่งเค้าสนามหลวงแต่ลดความสำคัญลงจนยกเลิกไปเอง      จากนั้นทรงแต่งตั้งเสนา ๖ ตำแหน่งขึ้นมาใหม่ ประกอบด้วยกรมมหาดไทย กรมทหาร กรมคลัง กรม  ยุติธรรม กรมวัง และกรมนา แต่ละกรมมีเจ้านายบุตรหลานดำรงตำแหน่งเสนา เป็นผู้บังคับบัญชากรม   ข้าราชการจากส่วนกลางเป็นผู้ช่วยเสนา ทำหน้าที่ให้คำแนะนำและช่วยเหลือเจ้านายบุตรหลานที่ยังไม่ เข้าใจรูปแบบการปกครองอย่างใหม่ ดังนั้น ผู้ช่วยเสนาจึงเป็นผู้คุมอำนาจการปกครองและทำหน้าที่  จัดการด้านต่างๆ อย่างแท้จริง นอกจากนั้นมีตำแหน่งพระยารองซึ่งสงวนไว้ให้เจ้านายบุตรหลาน หรือขุนนางพื้นเมืองเป็นตำแหน่งที่ไม่มีความสำคัญมาก แต่มีไว้เพื่อถนอมน้ำใจชาวพื้นเมือง ในแต่ละกรมจึงประกอบด้วยตำแหน่งพระยาว่าการกรม (เสนา) พระยาผู้ช่วยไทย (ผู้ช่วยเสนา) และพระยา        รองลาว[5]

ตำแหน่งเสนาทั้ง ๖ ตั้งขึ้นเพื่อมิให้เจ้านายบุตรหลานรู้สึกว่าต้องสูญเสียอำนาจและ   เกียรติยศไป สำหรับเหตุผลของการตั้งเสนา ๖ ตำแหน่ง เพื่อจะกระจายอำนาจของเจ้าเมือง ซึ่งเคยมีอย่างมากไปสู่เจ้านายบุตรหลานและโดยเฉพาะข้าราชการจากส่วนกลาง ซึ่งเป็นกลจักรสำคัญของการควบคุมอำนาจ



[1] หจช. . ๕ ม. .๑๒ ก/๔๑ เล่ม ๒๑ ศุภอักษรพระเจ้าอินทรวิชยานนท์กราบทูลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระบำราบปรปักษ์ และ  หจช. .   . .๒๑ ก/๑๑ เล่ม ๓ พระยาราชสัมภารากรกราบทูลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระบำราบปรปักษ์

[2] เชียงใหม่เป็นที่ตั้งของศาลาว่าการมณฑลพายัพ ซึ่งมีชื่อเรียกต่างกันคือในช่วง พ.. ๒๔๒๗ - ๒๔๓๕ ดินแดนส่วนนี้เรียกว่าหัวเมืองลาวเฉียง ดำเนินการปฏิรูปเฉพาะเมืองเชียงใหม่ ลำปาง และลำพูน มีข้าหลวงห้าหัวเมืองจัดการปกครอง (เนื่องจากสนธิสัญญาเชียงใหม่ฉบับที่ ๒ ขยายอำนาจศาลครอบคลุมจากเดิมเฉพาะเชียงใหม่ ลำปาง และลำพูน ออกไปถึงแพร่และน่าน จึงเรียกข้าหลวงสามหัวเมืองเป็นข้าหลวงห้าหัวเมือง) ช่วง พ.. ๒๔๓๖ - ๒๔๔๒ เป็นมณฑลลาวเฉียง พ.. ๒๔๔๓ เป็นมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ และช่วง พ.. ๒๔๔๓ - ๒๔๗๖ เป็นมณฑลพายัพ

[3] รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ดู สรัสวดี อ๋องสกุล, “การปฏิรูปการศึกษาในลานนา : การสร้างเอกภาพแห่งชาติ (.. ๒๔๔๖ - ๒๔๗๕)”, ศึกษาศาสตร์สาร- (ตุลาคม ๒๕๒๔ - กันยายน  ๒๕๒๕) : ๒๙ - ๔๘

[4] หจช. . ๕ ม. ๕๘/๘๘ รายงานกรมหมื่นพิชิตปรีชากร ลงวันที่ ๖ ฯ ๘ ค่ำ จ.. ๑๒๔๖

[5] หจช. . ๕ บ. ๑๐/๓๕ แบบตั้งตำแหน่งของกรมหลวงพิชิตปรีชากร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Our links