Our links

วันจันทร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒

พระยามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ (ต่อ)

เมื่อพระยามังรายได้เมืองหริภุญไชยแล้ว ได้ประทับอยู่ระยะหนึ่ง แล้วยกให้อ้ายฟ้าไป    ปกครองแทนพระองค์ โดยพระองค์ได้สร้างเมืองใหม่อีกเมืองหนึ่งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ชื่อเมืองชะแว เมืองนี้น้ำท่วมจึงได้ย้ายมาสร้างเมืองอีกเมืองหนึ่ง คือ เวียงกุมกาม ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอสารภีในปัจจุบัน เมืองนี้น้ำก็ท่วมอีก ไม่เหมาะจะให้เป็นเมืองหลวงถาวรได้ จึงได้พยายามแสวงหาทำเล       ภูมิประเทศเพื่อสร้างเมืองใหม่

ในที่สุดทรงพบบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง ตอนเหนือของเวียงกุมกาม บริเวณเชิงภูเขาสุเทพ จึงได้เชิญพระสหายของพระองค์มาช่วยคิดการสร้างเมือง คือ พระยาร่วง (พ่อขุนรามคำแหง) แห่งเมืองสุโขทัย พระยางำเมืองแห่งเมืองพะเยา ดังปรากฏข้อความเรื่องนี้ในตำนาน ราชวงศ์พื้นเมืองเชียงใหม่ ความว่า

“ … สหายคำพระยางำเมือง พระยาร่วงทั้งสองนั้น กูจักเรียกร้องเสงปองโฟ่จา (ปรึกษา) แล้วจึงควรตั้งชะแล พระยามังรายก็ใช้อำมาตย์ผู้รู้ผู้หลวกไปเมืองพรุยาว (พะเยา) ที่อยู่พระยางำเมือง และเมืองสุกโขทัยที่พระยาล่วง (ร่วง) ก็เรียกร้องเอาพระยาทั้งสองอันเป็นมิตรรักกับด้วยพระยามังราย ก็ชักเชิญว่า จักตั้งบ้านใหญ่เมืองหลวง พระยา     มังราย พระยางำเมือง พระยาร่วง ๓ คน ทั้งเสนาามาตย์ไพร่บ้านไพเมือง สมณพรามณ์ ช่างไม้ ช่างต้อง (แกะสลัก) ช่างแต้ม ทั้งหลายพร้อมเพรียงเสงปองกัน จักเบิกบายชื่อโสรกยังเวียงว่า ชนพบุรีศรีนครเชียงใหม่ ก็โสรกมีสิ้นนี้[1]

เมื่อสร้างเสร็จใน พ.. ๑๘๓๙ จึงให้ชื่อเมืองนี้ว่า นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ เป็น       ศูนย์กลางการเมืองการปกครองและศูนย์กลางความเจริญของล้านนาตลอดมา


[1] ภาควิชาสังคมวิทยามานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มช. ราชวงศาพื้นเมืองเชียงใหม่, ฉบับวัดเชียงหมั้น อ.เมือง เชียงใหม่, (สิงหาคม ๒๕๑๘) หน้า ๑๓

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Our links